วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

วันสำคํญของฝรั่งเศส


วันสำคํญของฝรั่งเศส
    แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคริสต์
วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรก
ของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส

วันขึ้นปีใหม่ 
     10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่ 31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้าย 
ปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ (เงิน) กับเด็ก ๆ 

เอพิพานี (Epiphanie) 
     เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน เป็นการฉลองการมาเยี่ยม พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้) หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม 

ชองเดอเลอ (Chandeleur) 
   2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472 เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ พระเยซูภายในโบสถ์ตามธรรมเนียมมีการทำขนมเครป แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ตัวผู้โยน 

มาร์ดี-กรา (Mardi-gras) 
     เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7 วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ เริ่มต้นของกาเรม (เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล (ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล) ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย 

Mercredi des Cendres 
     เทศกาลของชาวคาทอลิก เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย 

อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด ๆ พิเศษ 
พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง 
เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์) ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก 

Dimanche des Rameaux
      รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน 

วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques) 
     3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้ 
ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์ เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุด
ของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ผลิ ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพือ่ไปสวดมิซซา ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ชอกโกแลต) หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร : ทานแกะ 

วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)
     ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ 

วันนำสาร (Annonciation) 
     25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล นำสารมาบอกมารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9 เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู 

วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
     เป็นวันระลึกถึง 150000 ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไปเข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน 

วันแรงงาน ( Fête du travail) 
     1 พฤาภาคม เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี 1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเดินขบวนกันตามเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย 

วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension) 
     เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์ หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์ 

วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945) 
     ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี สันติภาพได้กลับคืนสู่ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม 1945 เวลาประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981 

วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte)
     เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น7 อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก... 

ทรินิเต้ (Trinité) 
     วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8 หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์ ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต 

วันพระเจ้า (Fête Dieu)
    ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้ (หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์ โดยมีการแบ่งขนมปัง 

วันแม่ (Fête des mères)กำหนดเป็นทางการในปี 1928 กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ
เดือนพฤษภาคม (หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน 
กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ 

วันพ่อ (Fête des pères)
      เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 1952 

วันชาติ (Fête Nationale)
      รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789 โดยเฉพาะการทำลายคุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978 คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

วันอัสสัมซิยง (Assomption) 
     15 สิงหาคม วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองในการที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........ 

Croix glorieuse
     14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ. 335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก 

ตุสแซง (Toussaint) 
    1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว และดอกคริสซองแตม 

เดฟัน (Défunts)
     2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11 พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège (Oise) 

Christ Roi 
     วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส ระหว่าง 3-4 สัปดาห์ 

คริสต์มาส (Noël) 
    เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 354 โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่ 24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก ของขวัญ และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย อย่างมหาศาล 

วันครอบครัว (Saint famille)
     ต่อจากคริสต์มาส (อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ มารีและโยเซพ

fête de la musique
Each year, June 21st marks the start of summer and with it, the opening of the celebrated street music festival: La Fête de la Musique. This free annual outdoor festival which began in Paris in the 1980’s has met with such success over the years that it now takes place in countless cities world-wide.

Better known to New Yorkers as Make Music New York, the festival invites amateur and professional musicians of all kinds to take over the city from street corners to parks, cafes and other public spaces.
This year, the Cultural Services of the French Embassy is pleased to welcome you to celebrate this special moment with an informal party at 972 Fifth Avenue, the home of the French Embassy. Festivities begin with a special set by French Trumpet player Ibrahim Maalouf, who blends jazz, classical music and Arabic music in a stunning contemporary style, followed by a fusion of jazz, rock and world music with Jean-Christophe Maillard and his band Le Grand Bâton.
This event is free and open to the public with RSVP

วง IAM (ฝรั่งเศส)

       IAM หนึ่งในวงดนตรีฝรั่งเศสที่ได้รับความนิยมตลอดกาล วงนี้ตั้งขึ้นที่เมืองมาร์เซยย์ในยุครุ่งเรืองของดนตรีฮิปฮอปปี 2531 หนึ่งปีต่อมาจึงออก Single แรก อีกทั้งยังได้รับเลือกให้เล่นเป็นวงเปิดในการทัวร์คอนเสิร์ต Blonde Ambition Tour ของมาดอนนาในฝรั่งเศส เมื่อปี 2540 เพลง L’Ecole du Micro d’Argent โด่งดังเป็นอย่างมากและขายได้กว่าหนึ่งล้านแผ่น ส่งผลให้ชื่อของ IAM เป็นที่รู้จักในระดับสากล นอกจากนี้ IAM ได้ทำงานร่วมกับศิลปินฮิปฮอปอเมริกันชื่อดังอย่าง Wu-Tang Clan รวมถึง Method Man Redman Beyoncé Syleena Johnson และแรปเปอร์อย่าง Lucas

      แม้ IAM จะไม่เคยมาเปิดคอนเสิร์ตที่เมืองไทย แต่พวกเขาก็รู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดี ในการนี้ LA FETE รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่วงดนตรีระดับโลกให้เกียรติมาร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์โดยผู้ชมไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นอย่ารอช้าที่จะชักชวนญาติสนิทมิตรสหายของทั้งชาวไทยและต่างชาติมาร่วมสนุกกันในวันแห่งเสียงเพลง โอกาสดี ๆ แบบนี้ไม่ควรพลาดแต่อย่างใด

วง THAITANIUM (ไทย)
      เมื่อไทยเทเนี่ยมร่วมแสดงเวทีเดียวกับ IAM เปรียบเหมือนการประจันหน้าของมหาเทพแห่งเสียงเพลง ไทยเทเนี่ยมก่อตั้งจากการรวมตัวของ 3 ศิลปินฮิปฮอปได้แก่ ขัน เดย์ และ เวย์ ในปี 2543 แนวเพลงของไทยเทเนี่ยมได้อิทธิพลจากสไตล์อเมริกันฮิปฮอป ไทยเทเนี่ยมได้ร่วมแสดงในงาน MTV Asia Awards หลายต่อหลายครั้งและได้รับเลือกเป็นวงเปิดของวงดนตรีฮิป-ฮอปชื่อดังระดับโลกอย่าง 50 cent ในการแสดงทัวร์คอนเสิร์ตที่กรุงเทพฯ นับแต่ก่อตั้งวงจนถึงปัจจุบัน ไทยเทเนี่ยมมีผลงานเพลงมากมายและได้รับความนิยมมากขึ้นเสมอมาจนได้ก้าวขึ้นรับรางวัล “ศิลปิจกลุ่มยอดเยี่ยม” จากเวทีโหวตมหาชนของ Fat Radio และ SEED Fm เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในวงดนตรีแรปแถวหน้าของประเทศไทย

ศรคีรี ศรีประจวบ ตำนานลูกคอ 7 ชั้น
          สงอม ทองประสงค์ หรือ ศรคีรี ศรีประจวบ  เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ที่บ้านเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที จ.สมุทรสงคราม มีชื่อเล่นว่าน้อย เป็นบุตรนายมั่ง นางเชื้อ ทองประสงค์ ครอบครัวมีอาชีพทำน้ำตาลปี๊บมีพี่น้อง 6 คน เขาเป็นคนสุดท้อง เรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร 
        หลังจบการศึกษาก็มาช่วยครอบครัวปาดตาล (มะพร้าว) โดยระหว่างที่ พักเหนื่อยอยู่บนยอดมะพร้าวก็มักจะร้องเพลงอยู่บนนั้น จนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุณนานนท์ กำลังฮิต ตอนนั้นเขาอยากเป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของครู พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน เขาก็ไปสมัครร้องเพลง แต่พอร้องให้ครูพยงค์ฟัง แกก็บอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ เขาพยายามอยู่ 2 ครั้ง ครูพยงค์ก็บอกว่ายังไม่ดี เขาเลยท้อและเลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก ตอนนั้นพ่อแม่เขาไปซื้อไร่ทำสัปปะรดที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขาก็เลย ย้ายไปที่นั่นแต่ประวัติอีกกระแสบอก ว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำจะอย่าง ไรก็ตาม ที่นี่ เขาได้เริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ ชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อสร้างความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟัง เสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบหลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อสร้างวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้า กรุงเทพฯ เพื่อเช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ พวกเขาวิ่งขึ้นล่องกรุงเทพฯ - ประจวบฯอยู่บ่อยๆ และก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี เพื่อขอเพลงมาร้องภูพาน เพชรปฐมพร นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง “ รวมดาววัยรุ่น “ เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์เอกอยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียวกันกับรุ่งเพชร ครูไพบูลย์ก็จึงไม่ให้เพลง เขาจึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน ประกอบกับตอนนั้นครูไพบูลย์ ผิดใจกับรุ่งเพชรด้วยเพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลงนี้ น้ำเกิดท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์พอดี เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้งหมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัด หลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ ซึ่งในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วยต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปหลังจากที่ร้องไว้ไม่นาน และเพลงนี้ก็เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้ด้วยก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลงด้วยวัยแค่ 32 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนสายเอเชีย อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่หลังแสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประ มาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่าก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว โดยมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ,ชนัญญา และสันติครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "เพลง ที่เอามาให้ฟังวันนี้มีชื่อว่า " พอหรือยัง" ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดยครูชลธี ธารทอง คนเมืองชลเช่นเดียวกับผม ที่ต่อมาได้รับสมญาว่า " เทวดาเพลง" เพราะในยุครุ่งเรือง ไม่ว่าแต่งเพลงอะไร ดังเกือบทั้งหมด สำหรับเพลงนี้ มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก แทบจะนำไปสร้างเป็นนิยายชั้นดีได้เลยทีเดียว เพราะมีทั้งการชิงรักหักสวาท โชคชะตาชีวิต การคดโกง การหักหลังเพื่อน แต่สุดท้ายก็จบลงแบบ แฮปปี้เอนดิ้งชลธี ธารทอง เข้าสู่วงการลูกทุ่งเพราะร้องเพลงเพราะ และชอบร้องเพลง ไปๆมาๆเขาก็ได้มาเป็นนักร้องประจำวง" รวมดาวกระจาย " ของครูสำเนียง ม่วงทอง (ผู้ประพันธ์เพลง " แอบรักแอบคิดถึง" ที่ต่าย อรทัย นำกลับมาร้องใหม่และกำลังดังอยู่ในปัจจุบัน) ชลธี ธารทองมีโอกาสบันทึกแผ่นเสียงอยู่ 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง แต่ระหว่างที่เป็นนักร้องอยู่นั้น เขาก็หัดการแต่งเพลงไปด้วย โดยสอบถามเอากับหัวหน้าวงอย่างครูสำเนียงระหว่างที่อยู่กับวง ชลธี ธารทอง ไปปักใจสมัครรักใคร่กับนักร้องสาวร่วมวงอีกคน ซึ่งเมื่ออยู่ต่อหน้าเขา เธอก็ดูเหมือนว่าจะมีใจให้กับเขาเช่นกัน ทำให้หนุ่มชลธีดีอกดีใจอยู่ไม่น้อย แต่หลังจากที่พบความจริงว่า จริงๆแล้วเธอหลอกเขา เพราะเธอแอบไปควงกับนักร้องในวงอีกคน ชลธีเสียใจอย่างมาก และแอบไปนั่งร่ำสุราบานเคล้าน้ำตา พร้อมกับแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งที่พูดถึงความเจ็บช้ำในครั้งนี้ ซึ่งเพลงนั้นก็คือเพลง "พอหรือยัง"ชลธี ธารทองเมื่อ แต่งเสร็จ และเหล้าหมด เขาก็กลับเข้าห้องพักในโรงแรม และได้ร้องเพลงนี้ระบายความเสียใจ เสียงเพลงของเขาก็ไปแทงใจสาวเจ้าที่พักอยู่ในห้องข้าง เธอจึงนำเรื่องไปฟ้องครูสำเนียงเรื่องที่ชลธี ธารทอง แต่งเพลงด่าทอเธอ แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใดต่อมา นักร้องร่วมวงอีกคนหนึ่งเกิดมาได้ยินชลธี ธารทอง นำเพลงนี้มาร้องเล่นในยามว่าง จึงขอเพลงนี้เพื่อนำมาร้องที่หน้าเวที ซึ่งเขาก็อนุญาต และเพื่อนคนนี้ก็เคยได้รับรางวัลจากแฟนเพลงที่มาชมการแสดงจากการขับร้องเพลง " พอหรือยัง " ด้วยต่อมา นักร้องคนดังกล่าวออกไปอยู่กับวงดนตรีของศรคีรี ศรีประจวบ และเมื่อศรคีรี ซึ่งกำลังจะเริ่มดัง จากการปลุกปั้นของครูไพบูลย์ บุตรขัน ได้ฟังเพลงนี้ ก็เกิดชอบใจอยากจะนำมาร้องบันทึกเสียงบ้าง เมื่อสอบถามว่าเป็นผลงานการแต่ง ของใคร นักร้องคนดังกล่าวก็โกหกว่าเขาเป็นคนแต่งเอง ศรคีรี ศรีประจวบ นำเพลงนี้มาบันทึกแผ่นเสียง โดยใช้ชื่อตัวเองว่าเป็นคนแต่ง เนื่องจากมีคนแนะนำว่า เขาน่าจะสร้างเครดิตให้กับตัวเอง เพราะตัวคนแต่งจริง (ซึ่งก็คือเจ้านักร้องคนนั้น) ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไร และก็ไม่น่าจะมีชื่อเสียงอะไรอีกในอนาคตแต่หลังจากที่เพลงนี้ดังขึ้น ชลธีก็จึงได้รู้ว่าเพลงของเขาถูกขโมย และไปร้องเรียนเอากับศรคีรี หลังจากที่เรียกเอาฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม เขาก็จึงได้รู้ความจริง จึงมีการขอโทษขอโพย และตอบแทนกันตามธรรมเนียม ซึ่งต่อมา ชลธีและศรคีรี ก็กลายเป็นเพื่อนซี้กันในที่สุดนี่คือเพลงๆแรกของชลธี ธารทอง ที่ถูกนำไปบันทึกเสียง แต่มันก็ทำให้เขาต้องเริ่มกลับมานั่งคิดว่า จริงๆแล้ว เขาเหมาะสมกับงานไหนแน่ ระหว่างนักร้อง ที่พยายามมาหลายปี แต่กลับไม่ดัง กับนักแต่งเพลงที่ถูกนำไปบันทึกเสียงครั้งแรกและดังทันทีแต่ ถึงเพลงนี้จะดัง ชีวิตของชลธี กลับไม่ได้ดีขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่า บนแผ่นเสียงระบุว่าเพลงนี้เป็นผลงานการแต่งของศรคีรี และบางคนก็พาลคิดไปว่า มันเป็นผลงานของครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูเพลงคู่บุญของศรคีรี เครดิตของเขาจึงไม่มี เพลงก็ขายไม่ค่อยได้ เป็นนักร้องก็ไม่ดัง แต่ขณะที่ชีวิตกำลังตกอับอย่างสุดๆอยู่นั้น เขาก็ได้เจอกับศรคีรีอีกครั้ง และศรคีรี ออกปากให้เขาแต่งเพลงมาให้อีกหลังจากที่ชลธีบรรจงแต่งให้ สองเพลง และหวังเต็มที่ที่จะได้รับค่าแต่งเพลงก้อนงามๆอีกสักครั้ง แต่ยังไม่ทันที่จะนำไปเพลงไปเสนอ เขาก็ได้รับข่าวเศร้านั่นก็คือศรคีรี ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ชลธีที่ผิดหวังกับชีวิตในวงการเพลงของเขามาก ตัดสินใจทันทีว่าจะกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวไร่ชาวนาที่บ้านนอก จึงนำ 2 เพลงนี้ไปให้กับเด็กที่ทำงานอยู่ปั้มน้ำมันคนหนึ่งและอยากเป็นนักร้องแบบไม่ คิดค่าเพลงสองเพลงนี้คือเพลง " ลูกสาวผู้การ " และ" แหม่มปลาร้า " และเจ้าหนุ่มคนนั้น ต่อมามีชื่อเสียงระเบิดระเบ้อทั่วฟ้าเมืองไทย ทุกคนรู้จักเขาในชื่อ " สายัณห์ สัญญา "เรียบเรียงจากหนังสือ " เทวดาเพลง " ของชลธี ธารทอง

แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์
         

        นางเกลียว เสร็จกิจ (ขวัญจิต ศรีประจันต์) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซว) ปี 2539แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีนามจริงว่า นางเกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคพุทธศักราช 2490 ที่ ต.วงน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน สมรสกับนายเสวี ธราพร มีบุตร 3 คน เป็น ชาย 1 คน และหญิง 2 คน เป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านการร้องเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่ปี๒๕๐๕ ขณะที่อายุประมาณ ๑๕ ปี โดยมีความชื่นชม และเฝ้าติดตามการขับร้องเพลงของแม่บัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และครูไสว วงษ์งาม อย่างใกล้ชิดและในที่สุดก็ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกฝนการขับร้องเพลงกับครูเพลงทั้ง 2 ท่าน ด้วยความเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในทางการขับร้อง กอปรด้วยความมีไหวพริบปฏิภาณ และน้ำเสียงอันเป็นเลิศ อีกทั้งมีความมานะพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ทำให้แม่ขวัญจิตสามารถเรียนรู้วิธีการขับร้องเพลงพื้นบ้านประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงอีแซว จากแม่บัวผัน และเพลงแนวผู้ชายจากครูไสวได้เป็นอย่างดีภายในระยะเวลาไม่นาน แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ไม่เพียงมีความสามารถในด้านการขับร้องเพลงพื้นบ้านเท่านั้น ท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีแซวได้อย่างเป็นเลิศอีกด้วย เนื่องจากท่านมีความรักในด้านการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรณคดีไทยเป็นพิเศษ จึงสามารถจดจำลีลาการประพันธ์และเค้าโครงเรื่องเหล่านั้นมาประพันธ์เป็นเพลงอีแซวได้อย่างไพเราะงดงาม แม่ขวัญจิตได้ออกตระเวนเล่นเพลงอีแซวเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และหาความรู้กับครูเพลงพื้นบ้านอีกหลายท่าน ทำให้ความสามารถของท่านพัฒนาขึ้นโดยลำดับจนเริ่มมีชื่อเสียง จากนั้นในช่วงประมาณปี 2510 ก็ได้หันไปสนใจการขับร้องเพลงลูกทุ่ง โดยได้เข้าเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งในวงดนตรีของครูจำรัส สุวคนธ์ และวงดนตรีของ ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตามลำดับ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เพลงลูกทุ่งที่ร้องอัดแผ่นเสียงเป็นเพลงแรกคือ เพลงเบื่อสมบัติ ตามด้วยเพลงดังอื่นๆ เช่น ลาน้องไปเวียดนาม ขวัญใจคนจน แม่ครัวตัวอย่าง ฯลฯ จากนั้นก็ได้แต่งเพลงเองอันได้แก่เพลง กับข้าวเพชฌฆาต น้ำตาดอกคำใต้ สาวสุพรรณ เป็นต้น เมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง อย่างกว้างขวางแล้ว ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่าวงขวัญจิต ศรีประจันต์ ซึ่งท่านได้นำเอาระบบแสง สี เสียง อันทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ในการแสดง อีกทั้งได้ประยุกต์เพลงอีแซว มาผสมผสานเข้ากับเพลงลูกทุ่งได้อย่างกลมกลืมทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งจนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๖ จึงได้ยุบวงแล้วหันกลับไปฟื้นฟูเพลงอีกแซวอีกครั้ง โดยในการกลับมาครั้งนั้น ท่านได้ตั้งใจ อย่างแน่วแน่ที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้อย่างจริงจัง โดยนอกจาก การแสดงแล้ว ท่านยังอุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยได้ไปบรรยายและสาธิตการแสดงเพลงพื้นบ้านในสถานศึกษาต่างๆ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย และยังคงปฏิบัติเช่นนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะเป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่งที่มีความสามารถสูงยิ่งแล้ว แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมด้วยคุณธรรมอย่างน่าสรรเสริญ ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่ง ท่านได้อุทิศตนช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ มิเคยว่างเว้นทั้งงานราษฎร์ และงานหลวง อาทิ การช่วยรณรงค์เพื่อปราบปรามยาเสพย์ติด การรณรงค์ในเรื่องปัญหาโรคเอดส์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่างๆ และการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านเพลงพื้นบ้านที่วิทยาลัยนาฎศิลปสุพรรณบุรี และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจได้สืบสานเพลงพื้นบ้านไว้เป็นจำนวนมากนับเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีทั้งความสามารถในด้านเพลงพื้นบ้านอย่างลึกซึ้ง และเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมผู้ได้บำเพ็ญประโยชน์เป็นอเนกประการต่อสังคม นับเป็นศิลปินที่ชาวสุพรรณบุรีภาคภูมิใจที่สุดท่านหนึ่ง

เกียรติยศ 
      พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ(เพลงพื้นบ้าน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับคัดเลือกเป็นสื่อพื้นบ้านดีเด่นของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางและสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด
     พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น นักร้องดีเด่นกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๒ จากเพลงกับข้าวเพชฌฆาต รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดงานโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
     พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับโล่เกียรติคุณ ฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่นของ จ.สุพรรณบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน- อีแซว)

ผลงานภาพยนตร์
    เพลงสวรรค์นางไพร (2514) , จำปาทอง (2514) , น้องนางบ้านนา , จำปาสี่ต้น , กลัวเมีย , บุหงาหน้าฝน (2515) , อยากดัง ,
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. นอกจากนั้นยังเคยร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นเพลงเด่นๆหลายเพลง อาทิ
“คิดถึงคนอยากดัง” , “รักชั่งกิโล” , “ผัวหาย” ฯลฯ
ผลงานการขับร้องเพลง
ผลงานการขับร้องเพลงด้านต่างๆ ของแม่ขวัญจิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนอกจาก ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกมากมาย แบ่งออกเป็นเพลงหลายประเภทดังนี้
ประเภทเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเศรษฐีสุพรรณ ก็นั่นนะซิ วุ้ยว้าย นางครวญ อ้อมอกเจ้าพระยา อายบาปอายบุญ ปิดทองพระ แห่ผ้าป่า แฟนหนังเร่ เสียงครวญจากชาวประชา ชวนน้องกลับอีสาน กับข้าวเพชฌฆาต ฯลฯ
ประเภทเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงชุดปัญหาหัวใจ อานิสงส์ทอดกฐิน ประเพณีไทย น้ำตาหมอนวด ประวัติเมืองสุพรรณ อีแซวประยุกต์ พระมาลัยโปรดนรก พระคุณพ่อแม่ อานิสงส์บรรพชา ประเพณีแต่งงาน เต้นกำรำเคียวเกี่ยวมดตะนอย ฯลฯ
ประเภทเพลงแหล่ ได้แก่ แหล่มัทรีเดินดง แหล่ประวัตินาค แหล่กัญหาชาลี แหล่ทำขวัญนาค แหล่ถาม-ตอบพิธีแต่งขันหมาก แหล่ถาม-ตอบเรื่องการแต่งาน ฯลฯ
ตัวอย่างบทเพลงอีแซว
บทร้องไหว้ครู
ก่อนจะเล่นให้ดู ต้องไหว้ครูเสียก่อน จะได้กราบขอพร เอาไว้คุ้มภัย
สิบนิ้วประนม กราบก้มวันทา ก่อนที่ลูกจะว่า เอ๋ยเพลงไป
จะไหว้พระพุทธที่ล้ำ ไหว้พระธรรมที่เลิศ จะไหว้พระสงฆ์องค์ประเสริฐ อรหันต์ขวาซ้าย
ขอให้เป็นฉัตรแก้ว แล้วกางกัน ขออย่าให้มีอัน อันตราย
จะไหว้คุณบิดร เชียวหนอมารดา ที่ท่านได้เลี้ยงลูกมา จนโตใหญ่
ขอให้มาปกเกศ แล้วปกป้อง อย่าให้ลูกมีอัน อันตราย
ลูกขอไหว้คุณครู ผู้สั่งสอน ขอให้มาต่อกลอน ของลูกไว้
ขอมานั่งอยู่ในคอ คอยต่อปัญญา เมื่อลูกจะว่า แล้วเพลงไป
ลูกจะไหว้ครูพัก ที่ลักจำ บทกลอนที่แนะนำ ส่งเสริมให้
ร้องอะไรก็อย่าให้ผิด คิดแคล่วคล่อง ขอให้หัวสมอง ลูกว่องไว
ให้ว่ากลอนเฉาะ ๆ เสนาะสำเนียง ขอให้กลอนกลมเกลี้ยง เปล่งเสียงถูกใจ
แล้วร้องว่าไชโย เอ๋ยไชยยะ ขอให้ลูกชนะ ทุกคนไป

ครูหวังเต๊ะ

วันนี้วงการบันเทิงไทย ก็ต้องสูญเสียบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการไปอีก 1 ท่าน นั่นก็คือ "ครูหวังเต๊ะ" ซึ่งเราจะรู้จักท่านดีในฐานะนักแสดงลำตัด 

ประวัติครูหวังเต๊ะ

นายหวังดี นิมา หรือ เป็นที่รู้จักกันดีว่า “หวังเต๊ะ” เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2468 ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะ การแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่า ภาคภูมิใจยิ่ง

นอกจากนั้น ครูหวังเต๊ะ ยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย มาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531

ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี






Fête des mères


 Fête des mères
Bonne fête Maman !
Si la fête des mères est souvent décriée comme un événement annuel purement commercial, ne vous y trompez pas, en réalité ses origines n'avaient rien de mercantiles !
Découvrez les pires cadeaux de la fête des mères sur notre blog et éviter le faux-pas cette année!
Origines de la fête des mères
C'est aux Etats-Unis qu'est née la fête des mères, qui fut particulièrement célébrée au cours de la première guerre mondiale. En effet, l'éloignement familial du aux circonstances a engendré un vif échange de cartes de fête des mères, de poêmes et autres mots doux entre nos deux continents.
Au lendemain de la guerre, à l'heure où notre pays avait particulièrement besoin de se repeupler, la coutume de la fête des mères fut adoptée par les français.
Cadeaux de la fête des mères en France
Pour la fête des mères, tout comme pour la fête des pères, il est coutume d'offrir un cadeau. Cartes, poêmes de fête des mères et bricolages pour maman vont bon train ! Et pourquoi ne pas offrir un voyage pour la fête des mères ? Consultez nos destinations et optez pour un vol pas cher avec eDreams !
Dates de la fête des mères 2014 - 2018
La fête des mamans ne sera rendue officielle qu'en 1928, la date étant fixée au dernier dimanche de Mai, sauf s'il s'agit du dimanche de Pentecôte auquel cas, la fête sera reportée aupremier dimanche de juin.
Fête des mères 2014 : 25 mai
Fête des mères 2015 : 31 mai
Fête des mères 2016 : 29 mai
Fête des mères 2017 : 28 mai
Fête des mères 2018 : 27 mai 
ประวัติความเป็นมาวันแม่
ความเป็นมา
      งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่
     นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์
     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)

ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

การศึกษา
     พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย

พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น

ทรงหมั้น
    วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย

อภิเษกสมรส
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495

พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์ 
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515 
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520 
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
   เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ 
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่ 
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล 
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

ประวัติความเป็นมาประเพณีเลี้ยงขันโตก
       ประเพณีเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาการเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก อาจมีหลายชื่อที่เรียกขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตกหรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณีขันโตกหรือสะโตก ถ้าเป็นขันโตกสำหรับเจ้านายฝ่ายเหนือหรือคหบดีก็ดัดแปลงให้หรูหราขึ้นตามฐานะ บ้างก็ใช้เงินทำหรือ "ทองกาไหล่" หรือไม่ก็ลงรักปิดทองในสมัยก่อนชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อมและเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยกไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลาในการจัดและเก็บ ถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อ จุดมุ่งหมายของการกินข้าวขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนามาจากสมัยก่อน โดยถือว่านอกจากเป็นการเลี้ยงดูแขกที่มาเยือนให้ดูหรูหราสมเกียรติเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจในการต้อนรับ จะเห็นว่าการกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้นนอกจากจะมีจุดมุ่งหมาย เพื่อแสดงน้ำใจต้อนรับแขกและให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนในปัจจุบันก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บางท้องถิ่นก็จัดงานเลี้ยงขันโตกเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน ฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมืองการทำอาหารพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วยบางแห่งก็จัดงานข้าวขันโตก เพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนอกจากจะใช้เลี้ยงแขกต่างบ้านต่างเมืองแล้ว ในชีวิตประจำวันชาวเหนือก็มีการกินข้าวขันโตกกันเป็นประจำในหมู่ครอบครัวหรืออาจกินกันในโอกาสที่ได้ทำบุญทำทาน เช่น งานทำบุญบ้าน ทำบุญ งานปอยหลวง งานประเพณีหมู่บ้าน งานบวชพระหรือสามเณร หรืองานมงคลสมรส ฯลฯ

GMT
     การเปลี่ยนเวลา ประเทศอังกฤษมีการหมุนเข็มนาฬิกาปรับไปปรับมาอยู่ 2 ครั้งในรอบหนึ่งปี เพื่อถือเป็นการชดเชยกับสภาพเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละช่วงฤดูกาล ช่วงย่างเข้าฤดูร้อน (British Summer Time, BST) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกช้าลงไปในแต่ละวัน(บางวันกว่าจะตกก็เป็นเวลากว่า 3 ทุ่ม) ในเช้ามืดของวันอาทิตย์หนึ่งของเดือนมีนาคม (เที่ยงคืนของวันเสาร์) รัฐบาลจะประกาศให้ทุกคนปรับหมุนเข็มนาฬิกาของตนไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง และให้ใช้เวลาดังกล่าวเรื่อยไปจนถึงวันอาทิตย์หนึ่งในช่วงเดือนตุลาคม(เที่ยงคืนวันเสาร์) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จึงประกาศให้ทุกคนหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับมา 1 ชั่วโมง ให้มาอยู่ที่เดิม เช่น ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2552 เรื่อยมาจนถึงต้นเดือนมีนาคม 2553 เวลาอังกฤษจะช้ากว่าเวลาในไทยอยู่ 7 ชั่วโมง (อังกฤษเก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสี่โมง)แต่ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ไปจนถึง 31 ตุลาคม ที่มีการปรับหมุนเข็มนาฬิกาไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง จะทำให้เวลาในอังกฤษช้ากว่าเวลาไทยเพียง 6 ชั่วโมง (อังกฤษก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสามโมง)

les fêtes françaises
1.  Le Nouvel An : (le 31 décembre- le 1er janvier) 
     A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on s’embrasse et on prononce 
les voeux traditionnels  “ Bonne et heureuse année.” On donne des étrennes aux enfants.
2.  L’Epiphanie / la fête des rois  : (le 6 janvier) 
   On mange une galette des rois où on cache “la fève” dans sa pâte. Celui qui trouve la fève devient roi ou reine de la fête.
3.  La Chandeleur : (le 2 février) 
    La fête de la vierge quelques semaines après la naissance de l’Enfant Jésus.Aujourd’hui le nom est resté mais la tradition a changé. A la maison, on fait des crêpes qu’on doit faire sauter en l’air d’un habile “coup de poêle”
4.  Mardi Gras : (40 jours avant Pâques) 
     On se déguise. C’est époque des défilés du carnaval. C’est aussi la période des vacances d’hiver.
5.  La Sainte Valentin : (le 14 février)
     La fête des amoureux, on offre des fleurs et on envoie des cartes“ Vive St Valentin ! ”
6.  Pâques : (entre le 22 mars et le 25 avril)
     Pour les chrétiens, la résurrection du Christ, on offre des oeufs en chocolat ou en sucre aux enfants. 
Les cloches des églises sonnent partout.
Joyeuses Pâques !
7.  Le premier mai : (le 1er mai) 
     C’est la fête de travail. On offre aux amis une branche ou un brin de muguet qui est symbole du bonheur.
8.  L’Ascension : (40 jours après Pâques)
     On célèbre la montée au ciel du Christ.
9.  La Pentecôte : (10 jours après l’Ascension) 
     On célèbre le septième dimanche après Pâques, la descente de l’Esprit-Saint sur les apôtres.
10. La Fête des Mères ; (le dernier dimanche de mai) 
     87 % des foyers français la célèbrent. 83% se déclarent très attachés à cet événement
11. La Fête Nationale : (le 14 juillet) 
     Le 14 juillet célèbre la prise de la Bastille par le peuple de Paris en 1789. La Bastille était une prison devenue le symbole du pouvoir monarchique absolu.Cet événement marque le début de la Révolution française.Il y a des défilés militaires le matin, des feux d’artifices le soir. On décore les fenêtres de drapeaux. On danse sur les places publiques.
12. L’Assomption : (le 15 août) 
     La fête de la Mère du Christ, la Vierge Marie.
13. La Toussain : (le 1er novembre)          
     C’est la fête de tous les saints. Les français vont au cimetière pour Fleurir la tombe de leurs morts. On vend des chrysanthèmes, la fleurs des cimetières .
14. L’Anniversaire de armistrice de 1918 : (le 11 novembre) 
     Le Président de la République dépose une couronne sur la tombe du soldat inconnu sous l’Arc de Triomphe de l’Etoile.
15. Noël : (le 25 décembre) 
     La commémoration de la naissance du Christe.C’est le début des fêtes de fin de l’année. Dans la nuit de 24 au 25, les enfants placent leurs chaussures devant la cheminée. Le “Père Noël” va y mettre des cadeaux pendant la nuit. On fait aussi le réveillon.

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 คำขวัญกรุงเทพมหานคร

"กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย"
กทม. ประกาศคำขวัญกรุงเทพมหานคร ได้จากการโหวตทางไปรษณียบัตรจากประชาชนทั่วประเทศ โดยมีผู้ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตทั้งหมด 125,959 ใบ
ในที่สุดก็ได้มาแล้ว สำหรับคำขวัญของกรุงเทพฯ หลังจากทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้จัดโครงการประกวดคำขวัญกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้คัดเลือกคำขวัญที่รอบสุดท้าย 5 คำขวัญ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมโหวตผ่านทางไปรษณียบัตร โดยเจ้าของคำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจะได้รับเงินรางวัลเป็นเงิน 500,000 บาท และผู้ที่ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตจะมีสิทธิลุ้นรับเงินรางวัล 100,000 บาท ล่าสุด นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า มีประชาชนร่วมส่งไปรษณียบัตรโหวตทั้งสิ้น 125,959 ใบ และทาง กทม. และได้สรุปผลโหวตแล้วดังนี้
อันดับที่ 1 กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย คะแนนโหวต 42,514 คะแนน
อันดับที่ 2 พระแก้วมรกตล้ำค่า เสาชิงช้าคู่เมือง พระมหาราชวังลือเลื่อง เมืองน่าท่องเที่ยวอันดับโลก คะแนนโหวต 36,605 คะแนน
อันดับที่ 3 พระราชวังสง่างาม พระอารามเพริศแพร้ว พระแก้วมรกตคู่เมือง ที่ท่องเที่ยวลือเลื่อง นามกระเดื่องเมืองหลวงไทย คะแนนโหวต 16,148 คะแนน
อันดับที่ 4 วัดเวียงวังงามเลิศล้ำ วัฒนธรรมงามเสริมส่ง ราชธานีงามยืนยง สืบธำรงความเป็นไทย คะแนนโหวต 16,037 คะแนน
อันดับที่ 5 กรุงเทพมหานครเมืองฟ้า ความก้าวหน้ารุ่งเรือง ฟูเฟื่องวัฒนธรรม เลิศล้ำความเป็นไทย คะแนนโหวต 14,591 คะแนน
ทั้งนี้ คำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงที่สุดจะถูกนำมาใช้เป็น คำขวัญประจำกรุงเทพ และใช้ในโอกาสงานพิธีสำคัญต่างๆ

ประชากรเมืองหัวหิน

    เทศบาลเมืองหัวหิน มีจำนวนประชากร 55,415 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31สิงหาคม 2553)

 เทศบาลเมืองหัวหิน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบลคือ ตำบลหัวหินและตำบลหนองแก มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตรหรือ 53,975 ไร่
  • ทิศเหนือ ติดเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศใต้ ติดอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ทิศตะวันออก ติดทะเลอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดตำบลทับใต้และตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน
ประชากรประเทศไทย
  ไทยมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. มากสุด 2.9 ล้านคน แต่ขนาดครัวเรือนเล็กสุด

          วัน ที่ 8 เมษายน นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลเบื้องต้นสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 65.4 ล้านคน มีจำนวนครัวเรือน 20.3 ล้านครัวเรือน ซึ่งจำนวนประชากรของไทยมากเป็นอันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดตามลำดับ ดังนี้

         1. อินโดนีเซียมี 240 ล้านคน 

         2. ฟิลิปปินส์ 92 ล้านคน

         3. เวียดนาม 88 ล้านคน

          4. ไทย 65.4 ล้านคน


          ทั้งนี้ในประเทศไทย ในจำนวน 65.4 ล้านคน มีเพศหญิง 33.3 ล้านคน เพศชาย 32.1 ล้านคน และมีสัญชาติไทย 62.1 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.3 ล้านคน นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด แต่กลับมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยเล็กที่สุดอยู่ที่ 2.9 คน

          สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากสุดตามลำดับ
        
          1. กรุงเทพฯ 8.25 ล้านคน
        
          2. นครราชสีมา 2.52 ล้านคน
        
          3. สมุทรปราการ 1.83 ล้านคน
        
          4. อุบลราชธานี 1.74 ล้านคน
        
          5. ขอนแก่น1.74 ล้านคน
        
          6. เชียงใหม่ 1.71 ล้านคน
        
          7. ชลบุรี 1.55 ล้านคน
        
          8. สงขลา 1.48 ล้านคน
        
          9. นครศรีธรรมราช 1.45 ล้านคน
        
          10. นนทบุรี 1.33 ล้านคน

          ทั้งนี้ในประเทศไทย ในจำนวน 65.4 ล้านคน มีเพศหญิง 33.3 ล้านคน เพศชาย 32.1 ล้านคน และมีสัญชาติไทย 62.1 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.3 ล้านคน นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด แต่กลับมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยเล็กที่สุดอยู่ที่ 2.9 คน        


วันชาติฝรั่งเศส 
  วันชาติฝรั่งเศส ถือเอาวันที่ประชาชาชนบุกยึกคุก Bastille ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่ขัดเเย้งกับระบบขุนนาง เเละเริ่มต้นการปกครองเเบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฏาคม จึงใช้วันนี้เป็นวันชาติเรื่อยมารวมทั้งกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย
   คุก  Bastille เป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมืองที่มีเเนวคิดต่อต้านการปกครองของพระเจ้า หลุยส์ที่ 16 โดยในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1789 หากจากมีกระเเสความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนเเรง บรรดาเหล่าขุนนางได้เปิดประชุมเพื่อปรึกษาหารือถึงกรณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ ของฝรั่งเศสเรียกร้องให้เปลี่ยนเเปลงการปกครองให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ

       20 มิถุนายน ค.ศ. 1789  ก่อกำเนิด Jeu de Paume โดยตัวแทนของคณะก่อการจากชนชั้นกรรมมาชีพ ได้กระทำสัตยาบรรณร่วมกัน โดยจารึกไว้ว่า เหล่าคณะผู้ก่อการจะไม่ แตกแยกกันจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเป็น ผลสำเร็จ แนวความคิดของคณะผู้ก่อการ ได้รับการตอบรับอย่างยิ่งยวดจากประชาชนชาว ฝรั่งเศสที่ต้องต่อสู้กับความแร้นแค้น และสภาวะเสื่อมถอยของสังคมในสมัยนั้น ในขณะที่แนวความคิดนี้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กับชนชั้นขุนนาง

       14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789  เมื่อมีแนวร่วมมากขึ้น  ทำให้คณะปฏิวัติ แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ ประชาชนในกรุงปารีสได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังคุก Bastille เพื่อ ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับบรรดาเหล่าขุนนาง โดยสามารถบุกยึดคุก Bastille ได้ภายใน 1 วันด้วยพลังประชาชนเเละมีหน่วยทหารบางหน่วยที่เเปรพักต์มาร่วมในการบุกยึด ครั้งนี้

       16 กรกฎาคม ค.ศ. 1789  การปฏิวัติที่ประสบผลสำเร็จ ด้วยความล่มสลาย ของคุก Bastille ภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มก่อการ ทำให้การบุกยึดคุก Bastille กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของชาวฝรั่งเศส ทุกคนตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ วันที่ 14 กรกฎาคม จึงถูกเลือกมาให้เป็นวันชาติฝรั่งเศส

       เเต่หลังจากการปฏิวัติเเล้วฝรั่งเศสก็ไม่ได้เดินไปสู่ความเจริญอย่างที่นักคิดใน สมัยนั้นคาดการณ์ไว้ กลับกลายเป็นการทำร้ายล้างทางการเมืองกันระหว่างพวกที่ร่วมปฏิวัติมา ด้วยผลประโยชน์ที่ยั่วยวนทำให้เเนวคิดปรัชญาที่ต้องการเห็นประเทศชาติเจริญ กลับกลายเป็นความเห็นเเก่ตัวเเละเห็นเเก่ได้ไป ทำให้เปิดทางให้นายทหารหนุ่มผู้หนึ่งนามว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต ก้าวขึ้นมาเป็นจักรพรรดิของประเทศฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
        เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
        เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก 
      ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ยิ่งขึ้น    
      เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก ผลกระทบของ เหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ   ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง  แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วย การประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
      นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออก ไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป   จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้

      ในปี ค.ศ. 1821  พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ    
      ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์    
      ในปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
    ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง    
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995    
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป


นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้

ปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง.
 
 La  fête  en  France
 

Date
Férié
Origine
Caractéristiques et activités
Jour de l’An
Premier janvier
Oui
Laïque
On décore la maison avec du gui, symbole du bonheur. On s’embrasse à minuit en se souhaitant "bonne année". On réveillonne toute la nuit.
Epiphanie
(Fête des Rois)
Premier dimanche après le Jour de l’An.
.
Catholique :apparition de Jésus aux Trois Mages.
On partage une galette dans laquelle on a caché une fève. Celui ou celle qui trouve la fève devient le "Roi" ou la "Reine" et on lui place unecouronne sur la tête.
Chandeleur
2 février
Non
Catholique : Jésus a 40 jours et Simeon le nomme : "Lumière des Nations".
C’est le jour des "chandelles". On fait des crêpesà la maison.
Tradition : Faites sauter des crêpes dans la poêle avec une pièce de monnaie dans la main gauche si vous voulez faire rentrer la fortune à la maison.
Saint Valentin
14 février
Non
Laïque, l’origine est anglo-saxonne.
C’est la fête des amoureux : on offre des fleurs à celui ou celle qu’on aime.
Mardi-Gras
40 jours avant Pâques.
Non
Catholique.
Dernier jour du Carnaval avant le Carême, qui commence avec le jeûne du Mercredi des Cendres et finit 40 jours plus tard, à Pâques. Le jour du Carnaval, des chars grotesques défilent dans les rues et les enfants se déguisent.
1er Avril
Premier avril
Non
Laïque
Jour des plaisanteries, des blagues, des canulars, des fausses nouvelles dans les médias. Les enfants s’accrochent des petits poissons de papier dans le dos.
Rameaux
7 jours avant Pâques. Dimanche
.
Catholique : en souvenir de l’entrée de Jésus a Jérusalem.
Des rameaux (jeunes branches) sont bénis à la messe. Les rameaux sont déposés ensuite dans les maisons, ou sur les tombes.
Pâques
22-25 avril
Dimanche et lundi
Oui
Catholique : en souvenir de laRésurrection de Jésus.
C’est l’occasion de grandes messes. Les enfants cherchent des oeufs en chocolat dans les maisons et jardins que les cloches de Rome ont fait tomber du ciel. Ce sont en fait les parents qui les ont cachés.
Fête du Travail
Premier mai
Oui
Laïque : commémoration de la manifestation des syndicats d’ouvriers américains en 1886.
Les familles vont cueillir le muguet dans les forêts et on en décore les maisons. Des manifestationssont organisées par les syndicats pour symboliser l’unité des travailleurs.
Victoire 1945
8 mai
Oui
Laïque : commémoration de la fin de la Seconde Guerre mondiale (1939-45).
Des cérémonies ont lieu en souvenir des soldats tués pendant la guerre. Des gerbes de fleurs sont déposées sur la tombe du Soldat Inconnu, au pied de l’Arc de Triomphe à Paris et sur les Monuments aux Morts.
Ascension
40 jours après Pâques. Jeudi.
Oui
Catholique :
Jésus monte au ciel.
Des messes sont célébrées dans les églises.
Pentecôte
50 jours après Pâques. Dimanche et lundi.
Oui
Catholique : Commémore la descente du Saint Esprit sur les Apôtres.
Des messes sont célébrées dans les églises.
Fête des Mères
Dernier dimanche de mai.
.
Laïque (cir. 1950)
Les enfants offrent des cadeaux à leur mère.
Fête des Pères
Troisième dimanche de juin.
.
Laïque
Les enfants offrent des cadeaux à leur père.
Féte de la Musique
21 juin
Non
Laïque : créée dans les années 80
Des concerts sont organisés partout dans le pays. Chacun peut organiser son propre concert dans la rue, sur les places. C’est une grande fête populaire qui a lieu dans plus en plus de pays.
Fête Nationale
14 juillet
Oui
Laïque : commémore laprise de la Bastille en 1789.
Des défilés militaires ont lieu, en particulier sur les Champs Elysées à Paris. On tire des feux d’artifice partout dans le pays. Des bals populaires sont organisés dans toutes les villes.
Assomption
15 août
Oui
Catholique : en souvenir de la montée de laSainte Vierge au ciel.
Des défilés et des processions ont lieu partout dans le pays. Des bals populaires sont organisés, ainsi que des feux d’artifice.
Toussaint
Premier novembre
Oui
Catholique : fête detous les Saints
C’est une fête en souvenir des morts. Le 2 novembre, on se rend dans les cimetières pour fleurir les tombes avec des chrysanthèmes.
Armistice de 1918
11 novembre
Oui
Laïque : Commémoration de la fin de la Première Guerre mondiale (1914-18).
Des cérémonies ont lieu en souvenir des soldats tués pendant la guerre. Des gerbes de fleurs sont déposées sur la tombe du Soldat Inconnu, au pied de l’Arc de Triomphe à Paris et sur lesMonuments aux Morts.
Sainte Catherine
25 novembre
Non
Catholique
Cette fête célèbre les jeunes filles de 25 ans qui ne sont pas encore mariées. Les "catherinettes" sont les reines des réceptions organisées en leur honneur. Elles portent un chapeau qu’elles ont confectionné elles-mêmes. C’est une féte de moins en moins célébrée aujourd’hui
Noël
25 décembre
Oui
Catholique :
Naissance de Jésus.
C’est une fête familiale. Un sapin de Noël et unecrèche sont installés dans la maison. Les enfants reçoivent des cadeaux du "Père Noël". Des messes sont célébrées le 24 à minuit, après le repas familial.



 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
     ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมอันดอร์รา
ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 23 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาแลเดอเลลีเซมาแล้วรัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ ฟร็องซัว ออล็องด์ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 
อดีตประธานาธิบดี

ในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสมีอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ 3 ท่านได้แก่
  • วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2524)
  • ฌัก ชีรัก (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550)
  • นีกอลา ซาร์กอซี (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555)
ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพในฐานะเท่ากับที่ปรึกษากิติมศักดิ์แห่งรัฐ (French: conseiller d'État) และได้รับหนังสือเดินทางฑูต และตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 56 อดีตประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย
  “ฟรังซัวส์ ออลลองด์” กับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนล่าสุด
    ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ผู้นำพรรคโซเชียลลิสต์วัย 57 ปี เอาชนะซาร์โกซี อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ด้วยคะแนน 51.62% ต่อ 48.38% ในการเลือกตั้งรอบสองซึ่งเป็นการสู้กันตัวต่อตัว โดยที่แคมเปญเลือกตั้งถูกครอบงำด้วยความไม่พอใจต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่ทำให้ผู้นำในยุโรป 10 คนพ้นจากตำแหน่งมาแล้วนับจากปลายปี 2009
ออลลองด์ เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1954 เคยดำรงตำแน่งเลขาธิการพรรคโซเซียลลิสต์ ตั้งแต่ปี 1997-2008 และรองผู้อำนวยการสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดกอแรซ เมื่อปี 1997 นอกจากนี้ออลลองด์ ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองตูล ในปี 2001-2008 อีกด้วย
ออลลองด์อาศัยอยู่ในครอบครัวชนชั้นกลางที่เมืองรูออง แม่ของออลลองด์เป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นแพทย์หู คอ จมูก ที่เคยเรียกร้องสิทธิอย่างรุนแรงในการเมืองระดับท้องถิ่น ออลลองด์จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านการเมืองของปารีส (Paris Institute of Political Studies) ในปี1980 ทันทีที่จบการศึกษา ออลลองด์ก็ได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาศาลตรวจสอบของฝรั่งเศส
สำหรับประสบการณ์ทางการเมือง ออลลองด์ได้เข้าร่วมกับพรรคโซเซียลลิสต์ หลังจากที่ได้เคยเข้าเป็นนักเรียนอาสาสมัครทำงานแคมเปญการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ ในปี 1974 ถึงแม้แคมเปญดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม ซึ่งทำให้ออลลองด์ได้พบกับ ฌาค อัตตาลิ ที่ปรึกษาอาวุโสของมิแตรรองด์ ผู้ที่ผลักดันให้ออลลองด์เข้าแข่งขันในสนามเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติของ ฝรั่งเศสในปี 1981 เพื่อสู้กับประธานาธิบดี ฌาค ชีรัก จากพรรคนีโอกอลิสท์ ซึ่งออลลองด์พ่ายแพ้ต่อชีรักในการแข่งขันรอบแรก อย่างไรก็ตาม ออลลองด์ก็ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟรอง ซัวส์ มิแตรรองด์ ครั้งใหม่ ก่อนที่จะเข้าทำงานให้กับ แม็กซ์ แกลโล โฆษกรัฐบาลในสมัยนั้น ต่อมาออลลองด์ก็ได้เข้าป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุสเซล ในปี 1983 และเขาได้ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติ จังหวัดกอแรซ อีกครั้ง และพ่ายแพ้ในปี 1993 เนื่องจากจำนวนที่นั่งได้เพิ่มขึ้นตามการใช้สิทธิของพรรคโซเซียลลิสท์
ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ได้กลับเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่และได้รับชัยชนะจนสามารถเข้าทำงานใน สมัชชาแห่งชาติในปี 1997 และในปีเดียวกันเขาก็ได้เข้าเป็นเลขาธิการพรรคโซเซียลลิสท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ยาวนานถึง 11 ปี หลังจากนั้นเขาก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาทั่วไปของจังหวัดกอแรซ ในเดือนเมษายน ปี2008 นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัล The First European Prize ในสาขาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2008 โดยการเสนอของฌอง บูเทียร์ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอีกด้วย
ฟรังซัวส์ ออลลองด์ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2012 และจะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 15 พ.ค.นี้