วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 คำขวัญกรุงเทพมหานคร

"กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย"
กทม. ประกาศคำขวัญกรุงเทพมหานคร ได้จากการโหวตทางไปรษณียบัตรจากประชาชนทั่วประเทศ โดยมีผู้ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตทั้งหมด 125,959 ใบ
ในที่สุดก็ได้มาแล้ว สำหรับคำขวัญของกรุงเทพฯ หลังจากทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้จัดโครงการประกวดคำขวัญกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้คัดเลือกคำขวัญที่รอบสุดท้าย 5 คำขวัญ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมโหวตผ่านทางไปรษณียบัตร โดยเจ้าของคำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดจะได้รับเงินรางวัลเป็นเงิน 500,000 บาท และผู้ที่ส่งไปรษณียบัตรร่วมโหวตจะมีสิทธิลุ้นรับเงินรางวัล 100,000 บาท ล่าสุด นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า มีประชาชนร่วมส่งไปรษณียบัตรโหวตทั้งสิ้น 125,959 ใบ และทาง กทม. และได้สรุปผลโหวตแล้วดังนี้
อันดับที่ 1 กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย คะแนนโหวต 42,514 คะแนน
อันดับที่ 2 พระแก้วมรกตล้ำค่า เสาชิงช้าคู่เมือง พระมหาราชวังลือเลื่อง เมืองน่าท่องเที่ยวอันดับโลก คะแนนโหวต 36,605 คะแนน
อันดับที่ 3 พระราชวังสง่างาม พระอารามเพริศแพร้ว พระแก้วมรกตคู่เมือง ที่ท่องเที่ยวลือเลื่อง นามกระเดื่องเมืองหลวงไทย คะแนนโหวต 16,148 คะแนน
อันดับที่ 4 วัดเวียงวังงามเลิศล้ำ วัฒนธรรมงามเสริมส่ง ราชธานีงามยืนยง สืบธำรงความเป็นไทย คะแนนโหวต 16,037 คะแนน
อันดับที่ 5 กรุงเทพมหานครเมืองฟ้า ความก้าวหน้ารุ่งเรือง ฟูเฟื่องวัฒนธรรม เลิศล้ำความเป็นไทย คะแนนโหวต 14,591 คะแนน
ทั้งนี้ คำขวัญที่ได้รับคะแนนโหวตสูงที่สุดจะถูกนำมาใช้เป็น คำขวัญประจำกรุงเทพ และใช้ในโอกาสงานพิธีสำคัญต่างๆ

ประชากรเมืองหัวหิน

    เทศบาลเมืองหัวหิน มีจำนวนประชากร 55,415 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31สิงหาคม 2553)

 เทศบาลเมืองหัวหิน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบลคือ ตำบลหัวหินและตำบลหนองแก มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตรหรือ 53,975 ไร่
  • ทิศเหนือ ติดเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศใต้ ติดอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ทิศตะวันออก ติดทะเลอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดตำบลทับใต้และตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน
ประชากรประเทศไทย
  ไทยมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. มากสุด 2.9 ล้านคน แต่ขนาดครัวเรือนเล็กสุด

          วัน ที่ 8 เมษายน นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ แถลงผลเบื้องต้นสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 65.4 ล้านคน มีจำนวนครัวเรือน 20.3 ล้านครัวเรือน ซึ่งจำนวนประชากรของไทยมากเป็นอันดับ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดตามลำดับ ดังนี้

         1. อินโดนีเซียมี 240 ล้านคน 

         2. ฟิลิปปินส์ 92 ล้านคน

         3. เวียดนาม 88 ล้านคน

          4. ไทย 65.4 ล้านคน


          ทั้งนี้ในประเทศไทย ในจำนวน 65.4 ล้านคน มีเพศหญิง 33.3 ล้านคน เพศชาย 32.1 ล้านคน และมีสัญชาติไทย 62.1 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.3 ล้านคน นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด แต่กลับมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยเล็กที่สุดอยู่ที่ 2.9 คน

          สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากสุดตามลำดับ
        
          1. กรุงเทพฯ 8.25 ล้านคน
        
          2. นครราชสีมา 2.52 ล้านคน
        
          3. สมุทรปราการ 1.83 ล้านคน
        
          4. อุบลราชธานี 1.74 ล้านคน
        
          5. ขอนแก่น1.74 ล้านคน
        
          6. เชียงใหม่ 1.71 ล้านคน
        
          7. ชลบุรี 1.55 ล้านคน
        
          8. สงขลา 1.48 ล้านคน
        
          9. นครศรีธรรมราช 1.45 ล้านคน
        
          10. นนทบุรี 1.33 ล้านคน

          ทั้งนี้ในประเทศไทย ในจำนวน 65.4 ล้านคน มีเพศหญิง 33.3 ล้านคน เพศชาย 32.1 ล้านคน และมีสัญชาติไทย 62.1 ล้านคน ไม่มีสัญชาติไทย 3.3 ล้านคน นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด แต่กลับมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยเล็กที่สุดอยู่ที่ 2.9 คน        


วันชาติฝรั่งเศส 
  วันชาติฝรั่งเศส ถือเอาวันที่ประชาชาชนบุกยึกคุก Bastille ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่ขัดเเย้งกับระบบขุนนาง เเละเริ่มต้นการปกครองเเบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฏาคม จึงใช้วันนี้เป็นวันชาติเรื่อยมารวมทั้งกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย
   คุก  Bastille เป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมืองที่มีเเนวคิดต่อต้านการปกครองของพระเจ้า หลุยส์ที่ 16 โดยในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1789 หากจากมีกระเเสความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนเเรง บรรดาเหล่าขุนนางได้เปิดประชุมเพื่อปรึกษาหารือถึงกรณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ ของฝรั่งเศสเรียกร้องให้เปลี่ยนเเปลงการปกครองให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ

       20 มิถุนายน ค.ศ. 1789  ก่อกำเนิด Jeu de Paume โดยตัวแทนของคณะก่อการจากชนชั้นกรรมมาชีพ ได้กระทำสัตยาบรรณร่วมกัน โดยจารึกไว้ว่า เหล่าคณะผู้ก่อการจะไม่ แตกแยกกันจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเป็น ผลสำเร็จ แนวความคิดของคณะผู้ก่อการ ได้รับการตอบรับอย่างยิ่งยวดจากประชาชนชาว ฝรั่งเศสที่ต้องต่อสู้กับความแร้นแค้น และสภาวะเสื่อมถอยของสังคมในสมัยนั้น ในขณะที่แนวความคิดนี้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กับชนชั้นขุนนาง

       14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789  เมื่อมีแนวร่วมมากขึ้น  ทำให้คณะปฏิวัติ แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ ประชาชนในกรุงปารีสได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังคุก Bastille เพื่อ ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับบรรดาเหล่าขุนนาง โดยสามารถบุกยึดคุก Bastille ได้ภายใน 1 วันด้วยพลังประชาชนเเละมีหน่วยทหารบางหน่วยที่เเปรพักต์มาร่วมในการบุกยึด ครั้งนี้

       16 กรกฎาคม ค.ศ. 1789  การปฏิวัติที่ประสบผลสำเร็จ ด้วยความล่มสลาย ของคุก Bastille ภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มก่อการ ทำให้การบุกยึดคุก Bastille กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของชาวฝรั่งเศส ทุกคนตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ วันที่ 14 กรกฎาคม จึงถูกเลือกมาให้เป็นวันชาติฝรั่งเศส

       เเต่หลังจากการปฏิวัติเเล้วฝรั่งเศสก็ไม่ได้เดินไปสู่ความเจริญอย่างที่นักคิดใน สมัยนั้นคาดการณ์ไว้ กลับกลายเป็นการทำร้ายล้างทางการเมืองกันระหว่างพวกที่ร่วมปฏิวัติมา ด้วยผลประโยชน์ที่ยั่วยวนทำให้เเนวคิดปรัชญาที่ต้องการเห็นประเทศชาติเจริญ กลับกลายเป็นความเห็นเเก่ตัวเเละเห็นเเก่ได้ไป ทำให้เปิดทางให้นายทหารหนุ่มผู้หนึ่งนามว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต ก้าวขึ้นมาเป็นจักรพรรดิของประเทศฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
        เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
        เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่ง ราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก 
      ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ยิ่งขึ้น    
      เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก ผลกระทบของ เหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ   ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง  แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วย การประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
      นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออก ไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป   จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้

      ในปี ค.ศ. 1821  พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ    
      ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์    
      ในปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
    ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง    
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995    
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป


นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้

ปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง.
 
 La  fête  en  France
 

Date
Férié
Origine
Caractéristiques et activités
Jour de l’An
Premier janvier
Oui
Laïque
On décore la maison avec du gui, symbole du bonheur. On s’embrasse à minuit en se souhaitant "bonne année". On réveillonne toute la nuit.
Epiphanie
(Fête des Rois)
Premier dimanche après le Jour de l’An.
.
Catholique :apparition de Jésus aux Trois Mages.
On partage une galette dans laquelle on a caché une fève. Celui ou celle qui trouve la fève devient le "Roi" ou la "Reine" et on lui place unecouronne sur la tête.
Chandeleur
2 février
Non
Catholique : Jésus a 40 jours et Simeon le nomme : "Lumière des Nations".
C’est le jour des "chandelles". On fait des crêpesà la maison.
Tradition : Faites sauter des crêpes dans la poêle avec une pièce de monnaie dans la main gauche si vous voulez faire rentrer la fortune à la maison.
Saint Valentin
14 février
Non
Laïque, l’origine est anglo-saxonne.
C’est la fête des amoureux : on offre des fleurs à celui ou celle qu’on aime.
Mardi-Gras
40 jours avant Pâques.
Non
Catholique.
Dernier jour du Carnaval avant le Carême, qui commence avec le jeûne du Mercredi des Cendres et finit 40 jours plus tard, à Pâques. Le jour du Carnaval, des chars grotesques défilent dans les rues et les enfants se déguisent.
1er Avril
Premier avril
Non
Laïque
Jour des plaisanteries, des blagues, des canulars, des fausses nouvelles dans les médias. Les enfants s’accrochent des petits poissons de papier dans le dos.
Rameaux
7 jours avant Pâques. Dimanche
.
Catholique : en souvenir de l’entrée de Jésus a Jérusalem.
Des rameaux (jeunes branches) sont bénis à la messe. Les rameaux sont déposés ensuite dans les maisons, ou sur les tombes.
Pâques
22-25 avril
Dimanche et lundi
Oui
Catholique : en souvenir de laRésurrection de Jésus.
C’est l’occasion de grandes messes. Les enfants cherchent des oeufs en chocolat dans les maisons et jardins que les cloches de Rome ont fait tomber du ciel. Ce sont en fait les parents qui les ont cachés.
Fête du Travail
Premier mai
Oui
Laïque : commémoration de la manifestation des syndicats d’ouvriers américains en 1886.
Les familles vont cueillir le muguet dans les forêts et on en décore les maisons. Des manifestationssont organisées par les syndicats pour symboliser l’unité des travailleurs.
Victoire 1945
8 mai
Oui
Laïque : commémoration de la fin de la Seconde Guerre mondiale (1939-45).
Des cérémonies ont lieu en souvenir des soldats tués pendant la guerre. Des gerbes de fleurs sont déposées sur la tombe du Soldat Inconnu, au pied de l’Arc de Triomphe à Paris et sur les Monuments aux Morts.
Ascension
40 jours après Pâques. Jeudi.
Oui
Catholique :
Jésus monte au ciel.
Des messes sont célébrées dans les églises.
Pentecôte
50 jours après Pâques. Dimanche et lundi.
Oui
Catholique : Commémore la descente du Saint Esprit sur les Apôtres.
Des messes sont célébrées dans les églises.
Fête des Mères
Dernier dimanche de mai.
.
Laïque (cir. 1950)
Les enfants offrent des cadeaux à leur mère.
Fête des Pères
Troisième dimanche de juin.
.
Laïque
Les enfants offrent des cadeaux à leur père.
Féte de la Musique
21 juin
Non
Laïque : créée dans les années 80
Des concerts sont organisés partout dans le pays. Chacun peut organiser son propre concert dans la rue, sur les places. C’est une grande fête populaire qui a lieu dans plus en plus de pays.
Fête Nationale
14 juillet
Oui
Laïque : commémore laprise de la Bastille en 1789.
Des défilés militaires ont lieu, en particulier sur les Champs Elysées à Paris. On tire des feux d’artifice partout dans le pays. Des bals populaires sont organisés dans toutes les villes.
Assomption
15 août
Oui
Catholique : en souvenir de la montée de laSainte Vierge au ciel.
Des défilés et des processions ont lieu partout dans le pays. Des bals populaires sont organisés, ainsi que des feux d’artifice.
Toussaint
Premier novembre
Oui
Catholique : fête detous les Saints
C’est une fête en souvenir des morts. Le 2 novembre, on se rend dans les cimetières pour fleurir les tombes avec des chrysanthèmes.
Armistice de 1918
11 novembre
Oui
Laïque : Commémoration de la fin de la Première Guerre mondiale (1914-18).
Des cérémonies ont lieu en souvenir des soldats tués pendant la guerre. Des gerbes de fleurs sont déposées sur la tombe du Soldat Inconnu, au pied de l’Arc de Triomphe à Paris et sur lesMonuments aux Morts.
Sainte Catherine
25 novembre
Non
Catholique
Cette fête célèbre les jeunes filles de 25 ans qui ne sont pas encore mariées. Les "catherinettes" sont les reines des réceptions organisées en leur honneur. Elles portent un chapeau qu’elles ont confectionné elles-mêmes. C’est une féte de moins en moins célébrée aujourd’hui
Noël
25 décembre
Oui
Catholique :
Naissance de Jésus.
C’est une fête familiale. Un sapin de Noël et unecrèche sont installés dans la maison. Les enfants reçoivent des cadeaux du "Père Noël". Des messes sont célébrées le 24 à minuit, après le repas familial.



 ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
     ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมอันดอร์รา
ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 23 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาแลเดอเลลีเซมาแล้วรัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ ฟร็องซัว ออล็องด์ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 
อดีตประธานาธิบดี

ในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสมีอดีตประธานาธิบดีที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ 3 ท่านได้แก่
  • วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2524)
  • ฌัก ชีรัก (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2550)
  • นีกอลา ซาร์กอซี (ดำรงตำแหน่ง: พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555)
ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพในฐานะเท่ากับที่ปรึกษากิติมศักดิ์แห่งรัฐ (French: conseiller d'État) และได้รับหนังสือเดินทางฑูต และตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 56 อดีตประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย
  “ฟรังซัวส์ ออลลองด์” กับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนล่าสุด
    ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ผู้นำพรรคโซเชียลลิสต์วัย 57 ปี เอาชนะซาร์โกซี อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ด้วยคะแนน 51.62% ต่อ 48.38% ในการเลือกตั้งรอบสองซึ่งเป็นการสู้กันตัวต่อตัว โดยที่แคมเปญเลือกตั้งถูกครอบงำด้วยความไม่พอใจต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่ทำให้ผู้นำในยุโรป 10 คนพ้นจากตำแหน่งมาแล้วนับจากปลายปี 2009
ออลลองด์ เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1954 เคยดำรงตำแน่งเลขาธิการพรรคโซเซียลลิสต์ ตั้งแต่ปี 1997-2008 และรองผู้อำนวยการสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดกอแรซ เมื่อปี 1997 นอกจากนี้ออลลองด์ ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองตูล ในปี 2001-2008 อีกด้วย
ออลลองด์อาศัยอยู่ในครอบครัวชนชั้นกลางที่เมืองรูออง แม่ของออลลองด์เป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นแพทย์หู คอ จมูก ที่เคยเรียกร้องสิทธิอย่างรุนแรงในการเมืองระดับท้องถิ่น ออลลองด์จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านการเมืองของปารีส (Paris Institute of Political Studies) ในปี1980 ทันทีที่จบการศึกษา ออลลองด์ก็ได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาศาลตรวจสอบของฝรั่งเศส
สำหรับประสบการณ์ทางการเมือง ออลลองด์ได้เข้าร่วมกับพรรคโซเซียลลิสต์ หลังจากที่ได้เคยเข้าเป็นนักเรียนอาสาสมัครทำงานแคมเปญการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ ในปี 1974 ถึงแม้แคมเปญดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม ซึ่งทำให้ออลลองด์ได้พบกับ ฌาค อัตตาลิ ที่ปรึกษาอาวุโสของมิแตรรองด์ ผู้ที่ผลักดันให้ออลลองด์เข้าแข่งขันในสนามเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติของ ฝรั่งเศสในปี 1981 เพื่อสู้กับประธานาธิบดี ฌาค ชีรัก จากพรรคนีโอกอลิสท์ ซึ่งออลลองด์พ่ายแพ้ต่อชีรักในการแข่งขันรอบแรก อย่างไรก็ตาม ออลลองด์ก็ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟรอง ซัวส์ มิแตรรองด์ ครั้งใหม่ ก่อนที่จะเข้าทำงานให้กับ แม็กซ์ แกลโล โฆษกรัฐบาลในสมัยนั้น ต่อมาออลลองด์ก็ได้เข้าป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุสเซล ในปี 1983 และเขาได้ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติ จังหวัดกอแรซ อีกครั้ง และพ่ายแพ้ในปี 1993 เนื่องจากจำนวนที่นั่งได้เพิ่มขึ้นตามการใช้สิทธิของพรรคโซเซียลลิสท์
ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ได้กลับเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่และได้รับชัยชนะจนสามารถเข้าทำงานใน สมัชชาแห่งชาติในปี 1997 และในปีเดียวกันเขาก็ได้เข้าเป็นเลขาธิการพรรคโซเซียลลิสท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ยาวนานถึง 11 ปี หลังจากนั้นเขาก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาทั่วไปของจังหวัดกอแรซ ในเดือนเมษายน ปี2008 นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัล The First European Prize ในสาขาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2008 โดยการเสนอของฌอง บูเทียร์ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอีกด้วย
ฟรังซัวส์ ออลลองด์ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2012 และจะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 15 พ.ค.นี้