วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

Fête des mères


 Fête des mères
Bonne fête Maman !
Si la fête des mères est souvent décriée comme un événement annuel purement commercial, ne vous y trompez pas, en réalité ses origines n'avaient rien de mercantiles !
Découvrez les pires cadeaux de la fête des mères sur notre blog et éviter le faux-pas cette année!
Origines de la fête des mères
C'est aux Etats-Unis qu'est née la fête des mères, qui fut particulièrement célébrée au cours de la première guerre mondiale. En effet, l'éloignement familial du aux circonstances a engendré un vif échange de cartes de fête des mères, de poêmes et autres mots doux entre nos deux continents.
Au lendemain de la guerre, à l'heure où notre pays avait particulièrement besoin de se repeupler, la coutume de la fête des mères fut adoptée par les français.
Cadeaux de la fête des mères en France
Pour la fête des mères, tout comme pour la fête des pères, il est coutume d'offrir un cadeau. Cartes, poêmes de fête des mères et bricolages pour maman vont bon train ! Et pourquoi ne pas offrir un voyage pour la fête des mères ? Consultez nos destinations et optez pour un vol pas cher avec eDreams !
Dates de la fête des mères 2014 - 2018
La fête des mamans ne sera rendue officielle qu'en 1928, la date étant fixée au dernier dimanche de Mai, sauf s'il s'agit du dimanche de Pentecôte auquel cas, la fête sera reportée aupremier dimanche de juin.
Fête des mères 2014 : 25 mai
Fête des mères 2015 : 31 mai
Fête des mères 2016 : 29 mai
Fête des mères 2017 : 28 mai
Fête des mères 2018 : 27 mai 
ประวัติความเป็นมาวันแม่
ความเป็นมา
      งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่
     นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"

ตราประจำพระองค์
     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์ และและพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2472) หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2473) และ หม่อมราชวงศ์หญิง บุษบา กิติยากร (ชาตะ พ.ศ. 2477)

ในระหว่างยังทรงพระเยาว์ สถานการณ์บ้านเมืองไม่สู้สงบนัก เนื่องจากเพิ่งพ้นจากช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการ รัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการเอกประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมีครรภ์แก่ ได้เดินทางไปสมทบหลังจากให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์แล้ว โดยมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราวต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา ปลายปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงทำให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ปี 6 เดือน ได้กลับมาอยู่รวมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ตำหนักบริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

การศึกษา
     พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น แม้เหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เรียนเปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วย

พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์กและฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโน และตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิตเซอร์แลนด์ เพราะประสงค์จะเลือกซื้อรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิม และยังได้รับชมการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงด้วย ในระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินมายังกรุงปารีส ก็ได้ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่นในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ทำให้เกิดความความสัมพันธ์ขึ้น

ทรงหมั้น
    วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive [ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับมาด้วย

อภิเษกสมรส
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

หลังจากครองราชย์สมบัติอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระหัวอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 และโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495

พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี) เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรส 1 องค์ และพระธิดา 2 องค์ 
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2515 
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2520 
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
   เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ 
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่ 
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล 
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

ประวัติความเป็นมาประเพณีเลี้ยงขันโตก
       ประเพณีเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาการเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก อาจมีหลายชื่อที่เรียกขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตกหรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณีขันโตกหรือสะโตก ถ้าเป็นขันโตกสำหรับเจ้านายฝ่ายเหนือหรือคหบดีก็ดัดแปลงให้หรูหราขึ้นตามฐานะ บ้างก็ใช้เงินทำหรือ "ทองกาไหล่" หรือไม่ก็ลงรักปิดทองในสมัยก่อนชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อมและเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยกไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลาในการจัดและเก็บ ถือเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อ จุดมุ่งหมายของการกินข้าวขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนามาจากสมัยก่อน โดยถือว่านอกจากเป็นการเลี้ยงดูแขกที่มาเยือนให้ดูหรูหราสมเกียรติเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจในการต้อนรับ จะเห็นว่าการกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้นนอกจากจะมีจุดมุ่งหมาย เพื่อแสดงน้ำใจต้อนรับแขกและให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนในปัจจุบันก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บางท้องถิ่นก็จัดงานเลี้ยงขันโตกเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน ฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมืองการทำอาหารพื้นเมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วยบางแห่งก็จัดงานข้าวขันโตก เพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนอกจากจะใช้เลี้ยงแขกต่างบ้านต่างเมืองแล้ว ในชีวิตประจำวันชาวเหนือก็มีการกินข้าวขันโตกกันเป็นประจำในหมู่ครอบครัวหรืออาจกินกันในโอกาสที่ได้ทำบุญทำทาน เช่น งานทำบุญบ้าน ทำบุญ งานปอยหลวง งานประเพณีหมู่บ้าน งานบวชพระหรือสามเณร หรืองานมงคลสมรส ฯลฯ

GMT
     การเปลี่ยนเวลา ประเทศอังกฤษมีการหมุนเข็มนาฬิกาปรับไปปรับมาอยู่ 2 ครั้งในรอบหนึ่งปี เพื่อถือเป็นการชดเชยกับสภาพเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละช่วงฤดูกาล ช่วงย่างเข้าฤดูร้อน (British Summer Time, BST) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกช้าลงไปในแต่ละวัน(บางวันกว่าจะตกก็เป็นเวลากว่า 3 ทุ่ม) ในเช้ามืดของวันอาทิตย์หนึ่งของเดือนมีนาคม (เที่ยงคืนของวันเสาร์) รัฐบาลจะประกาศให้ทุกคนปรับหมุนเข็มนาฬิกาของตนไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง และให้ใช้เวลาดังกล่าวเรื่อยไปจนถึงวันอาทิตย์หนึ่งในช่วงเดือนตุลาคม(เที่ยงคืนวันเสาร์) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จึงประกาศให้ทุกคนหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับมา 1 ชั่วโมง ให้มาอยู่ที่เดิม เช่น ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2552 เรื่อยมาจนถึงต้นเดือนมีนาคม 2553 เวลาอังกฤษจะช้ากว่าเวลาในไทยอยู่ 7 ชั่วโมง (อังกฤษเก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสี่โมง)แต่ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ไปจนถึง 31 ตุลาคม ที่มีการปรับหมุนเข็มนาฬิกาไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง จะทำให้เวลาในอังกฤษช้ากว่าเวลาไทยเพียง 6 ชั่วโมง (อังกฤษก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสามโมง)

les fêtes françaises
1.  Le Nouvel An : (le 31 décembre- le 1er janvier) 
     A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on s’embrasse et on prononce 
les voeux traditionnels  “ Bonne et heureuse année.” On donne des étrennes aux enfants.
2.  L’Epiphanie / la fête des rois  : (le 6 janvier) 
   On mange une galette des rois où on cache “la fève” dans sa pâte. Celui qui trouve la fève devient roi ou reine de la fête.
3.  La Chandeleur : (le 2 février) 
    La fête de la vierge quelques semaines après la naissance de l’Enfant Jésus.Aujourd’hui le nom est resté mais la tradition a changé. A la maison, on fait des crêpes qu’on doit faire sauter en l’air d’un habile “coup de poêle”
4.  Mardi Gras : (40 jours avant Pâques) 
     On se déguise. C’est époque des défilés du carnaval. C’est aussi la période des vacances d’hiver.
5.  La Sainte Valentin : (le 14 février)
     La fête des amoureux, on offre des fleurs et on envoie des cartes“ Vive St Valentin ! ”
6.  Pâques : (entre le 22 mars et le 25 avril)
     Pour les chrétiens, la résurrection du Christ, on offre des oeufs en chocolat ou en sucre aux enfants. 
Les cloches des églises sonnent partout.
Joyeuses Pâques !
7.  Le premier mai : (le 1er mai) 
     C’est la fête de travail. On offre aux amis une branche ou un brin de muguet qui est symbole du bonheur.
8.  L’Ascension : (40 jours après Pâques)
     On célèbre la montée au ciel du Christ.
9.  La Pentecôte : (10 jours après l’Ascension) 
     On célèbre le septième dimanche après Pâques, la descente de l’Esprit-Saint sur les apôtres.
10. La Fête des Mères ; (le dernier dimanche de mai) 
     87 % des foyers français la célèbrent. 83% se déclarent très attachés à cet événement
11. La Fête Nationale : (le 14 juillet) 
     Le 14 juillet célèbre la prise de la Bastille par le peuple de Paris en 1789. La Bastille était une prison devenue le symbole du pouvoir monarchique absolu.Cet événement marque le début de la Révolution française.Il y a des défilés militaires le matin, des feux d’artifices le soir. On décore les fenêtres de drapeaux. On danse sur les places publiques.
12. L’Assomption : (le 15 août) 
     La fête de la Mère du Christ, la Vierge Marie.
13. La Toussain : (le 1er novembre)          
     C’est la fête de tous les saints. Les français vont au cimetière pour Fleurir la tombe de leurs morts. On vend des chrysanthèmes, la fleurs des cimetières .
14. L’Anniversaire de armistrice de 1918 : (le 11 novembre) 
     Le Président de la République dépose une couronne sur la tombe du soldat inconnu sous l’Arc de Triomphe de l’Etoile.
15. Noël : (le 25 décembre) 
     La commémoration de la naissance du Christe.C’est le début des fêtes de fin de l’année. Dans la nuit de 24 au 25, les enfants placent leurs chaussures devant la cheminée. Le “Père Noël” va y mettre des cadeaux pendant la nuit. On fait aussi le réveillon.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น